Our Curriculum
หลักสูตรของโรงเรียนอนุบาลบ้านทอฝัน
ยอดเยี่ยมและเชี่ยวชาญด้านเด็กปฐมวัย
Excellence and Expert
in Early Childhood Education
พื้นฐานดีต้องที่โรงเรียนอนุบาลบ้านทอฝัน
....... เพราะวัยเด็กมีเพียงครั้งเดียว .......
Small school and small classes like at home.
This school is full of kids and lots of love.
Baantorfun School & Baantorfun Vorscule ความรู้คู่คุณธรรม
..... อยากให้คนในชาติเป็นอย่างไร .....
..... จงใส่ไว้ในการศึกษา .....
หลักสูตร Baantorfun Fun English
พัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างสมดุลครอบคลุมพัฒนาการทุกด้าน
และปูพื้นฐานการเรียนต่อระดับประถมอย่างมีคุณภาพ
ตรงตามมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560
กระทรวงศึกษาธิการ
หลักสูตร Baantorfun Fun English
ปูพื้นฐานการเรียนต่อระดับประถมอย่างมีคุณภาพ
ทั้งหลักสูตร Intensive English Program
หลักสูตร English Program และ หลักสูตรสามัญ
อย่างมีคุณภาพ ถูกต้อง เทียบเคียงมาตรฐาน CEFR :
Common European Framework of Reference for Languages
หลักสูตร Baantorfun Fun English
โดยวิทยากรชาวยุโรปความรู้และประสบการณ์การสอน
การใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร สำเนียง การออกเสียง
และการใช้ภาษาอังกฤษถูกต้อง ชัดเจนได้มาตรฐาน
CEFR : Common European Framework Reference of Languages ประสบการณ์การสอนภาษาอังกฤษ
สำหรับเด็กอนุบาลไทยยาวนานกว่า 20 ปี
ส่งเสริมและสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กสนใจและรักการเรียนรู้
ภาษาอังกฤษ มีทัศนคติและพื้นฐานภาษาอังกฤษที่ดี
สำเนียง การออกเสียงและการใช้ภาษาอังกฤษถูกต้องชัดเจน
เทียบเคียงมาตรฐาน CEFR :
Common European Framework of Reference for Languages
หลักสูตรของโรงเรียนอนุบาลบ้านทอฝัน
เน้นการพัฒนาเด็กเป็นสำคัญตามหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย (ระดับอนุบาลหรือก่อนประถมศึกษา) เน้นการพัฒนาสมองผ่านกิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้ต่างๆเพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านแบบองค์รวมครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม คุณธรรมจริยธรรมและสติปัญญา เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning จัดกิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพทางสมองพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยเด็กจะได้รับการพัฒนาทักษะในการสังเกต การจำแนกประเภท การวัด การสื่อความหมาย การลงความเห็น การใช้ตัวเลข ส่งเสริมให้สงสัยและสนใจในสิ่งต่างๆรอบตัว รวมถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่เด็กด้วยการให้เด็กเป็นผู้แสวงหาความรู้ หาคำตอบในเรื่องที่เด็กสนใจ ตลอดจนให้ความสำคัญกับการจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก การจัดมุมประสบการณ์ที่หลากหลายไว้ให้เด็กๆทั้งในและนอกห้องเรียนควบคู่กับการเตรียมความพร้อมในการเรียนต่อระดับประถมศึกษาและไม่เน้นเรื่องการแข่งขันทางการตลาดกับสถานศึกษาอื่น มุ่งให้เด็กมีพัฒนาการตามวัยเต็มตามศักยภาพและมีความพร้อมในการเรียนรู้ในระดับต่อๆไป เน้นการพัฒนาแบบองค์รวมทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม คุณธรรมจริยธรรมและด้านสติปัญญา ตลอดจนการเสริมสร้างคุณลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์โดยจัดกิจกรรมและสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้อย่างมีความสุข มีความหมายต่อตัวเด็ก เสริมสร้างทักษะการนำเสนอผลงานการค้นคว้า ฝึกการเป็นผู้นำผู้ตาม การทำกิจกรรมทั้งแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม ทักษะการใช้ภาษาในการสื่อสารทั้งการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน ตลอดจนการตั้งคำถาม การคิด การคาดคะเน และการสืบค้นหาคำตอบด้วยวิธีและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย รวมทั้งการเตรียมความพร้อมในการเรียนต่อในระดับประถมศึกษาบนพื้นฐานความเชื่อว่าทัศนคติต่อการเรียนรู้นั้นเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเด็กได้รับการดูแลท่ามกลางบรรยากาศของความรัก ความห่วงใย ความอบอุ่น ความเข้าใจ ความเมตตา ตลอดจนบรรยากาศของการผ่อนคลาย การสร้างเสริมกำลังใจ การให้เด็กมีอิสระในการตัดสินใจ การกล้าแสดงออก ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมการช่างสังเกต ใฝ่รู้และรู้จักการเข้าสังคม รู้จักระเบียบวินัยที่เหมาะสมตามวัยและพัฒนาการ เด็กก็จะค่อยๆซึมซับความรู้สึกและคุณลักษณะที่ดีงามต่างๆเหล่านั้นไว้ รวมถึงการให้ความสำคัญต่อธรรมชาติ การแยกเด็กออกจากธรรมชาติทำให้เด็กขาดการพัฒนาด้านจิตใจและร่างกายที่ดีพอ บรรยากาศของโรงเรียนอนุบาลบ้านทอฝันจึงรายล้อมด้วยธรรมชาติและต้นไม้ใหญ่ห่างจากแหล่งมลภาวะ สวยงาม ปลอดภัย สะอาด เงียบสงบ และร่มรื่นเพื่อให้ธรรมชาติช่วยกล่อมเกลาจิตใจเด็กๆให้ผ่อนคลายและอ่อนโยน รวมถึงตระหนักและให้ความสำคัญในการรักษาธรรมชาติในตัวเด็กโดยการพัฒนาเด็กให้ค่อยๆเติบโตอย่างไม่ขัดต่อธรรมชาติในตัวเด็ก
นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับขนาดของโรงเรียนที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กอย่างมีคุณภาพ การที่จะพัฒนาเด็กให้สามารถลงรายละเอียดสู่เด็กเป็นรายบุคคลได้นั้น หากขนาดของโรงเรียนและห้องเรียนใหญ่เกินไปก็จะเป็นอุปสรรคในการพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคลเพราะการพัฒนาเด็กไม่ได้มีเพียงแต่การพัฒนาด้านสติปัญญาเพียงอย่างเดียว พัฒนาการด้านจิตใจอารมณ์ พัฒนาการด้านสังคม คุณธรรมจริยธรรม พัฒนาการด้านร่างกาย ตลอดจนคุณลักษณะที่พึงประสงค์ต่างๆก็ต้องให้สอดคล้องสมดุลกันไปด้วย .......... พื้นฐานดีต้องที่โรงเรียนอนุบาลบ้านทอฝัน...........เพราะวัยเด็กมีเพียงครั้งเดียว
แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรปฐมวัยของโรงเรียนอนุบาลบ้านทอฝันอยู่บนพื้นฐานแนวคิด
ดังต่อไปนี้
1. แนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก
2. แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กโดยองค์รวมและการปฏิบัติที่เหมาะสมกับพัฒนาการ
3. แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทำงานของสมอง
4. แนวคิดเกี่ยวกับการเล่นและการเรียนรู้ของเด็ก
5. แนวคิดเกี่ยวกับการคำนึงถึงสิทธิเด็ก การสร้างคุณคำ และสุขภาวะให้แก่เด็กปฐมวัยทุกคน
6. แนวคิดเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูควบคู่การให้การศึกษา
7. แนวคิดเกี่ยวกับการบูรณาการ
8. แนวคิดเกี่ยวกับสื่อ เทคโนโลยี และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
9. แนวคิดเกี่ยวกับการประเมินตามสภาพจริง
10. แนวคิดเกี่ยวกับการมิส่วนร่วมของครอบครัว สถานคิกษาและขุมขน
11. แนวคิดเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความเป็นไทย และความหลากหลาย
หลักการของหลักสูตรปฐมวัยของโรงเรียนอนุบาลบ้านทอฝัน
1. ล่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกคน
2. ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และวิถีชีวิตของเด็ก
ตามบริบทของชุมชน ลังคม และวัฒนธรรมไทย
3. ยึดพัฒนาการและการพัฒนาเด็กโดยองค์รวม ผ่านการเล่นอย่างมีความหมาย และมีกิจกรรมที่หลากหลาย ได้ลงมือกระทำใน
สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เหมาะสมกับวัย และมีการพักผ่อนเพียงพอ
4. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กมีทักษะชีวิต และสามารถปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นคนดี มีวินัย
และมีความสุข
5. สร้างความรู้ ความเข้าใจ และประสานความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก ระหว่างสถานศึกษากับพ่อแม่ ครอบครัว ชุมชน และทุก
ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
หลักสูตรของโรงเรียนอนุบาลบ้านทอฝันมีจุดหมายในการส่งเสริมพัฒนาการและทักษะของเด็ก ดังนี้
1. ร่างกายเจริญเติบโตตามวัย แข็งแรง และมีสุขนิสัยที่ดี
2. สุขภาพจิตดี มีสุนทรียภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และจิตใจที่ดีงาม
3. มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีวินัย และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
4. มีทักษะการคิด การใช้ภาษาสื่อสาร และการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย
หลักสูตรของโรงเรียนอนุบาลบ้านทอฝันช่วยเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่ครอบคลุมพัฒนาการแบบองค์รวม ดังนี้
1.พัฒนาการด้านร่างกาย
1.1 สร้างเสริมให้เด็กมีร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี
1.2 สร้างเสริมให้เด็กมีกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้งานได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
2. พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ
2.1 สร้างเสริมให้เด็กมีสุขภาพจิตดีและมีความสุข
2.2 สร้างเสริมให้เด็กรู้จักการชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรีและการเคลื่อนไหว
2.3 สร้างเสริมให้เด็กมีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม
3. พัฒนาการด้านสังคม
3.1 สร้างเสริมให้เด็กมีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3.2 สร้างเสริมให้เด็กรู้จักรักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและความเป็นไทย
3.3 สร้างเสริมให้เด็กรู้จักการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมในระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
4. พัฒนาการด้านสติปัญญา
4.1 สร้างเสริมให้เด็กใช้ภาษาสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
4.2 สร้างเสริมให้เด็กมีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้
4.3 สร้างเสริมให้เด็กมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
4.4 สร้างเสริมให้เด็กมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ได้เหมาะสมกับวัย
หลักสูตรของโรงเรียนอนุบาลบ้านทอฝันและบ้านทอฝันเนอสเซอรีเน้นการพัฒนาเด็กเป็นสำคัญตามหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย (ระดับอนุบาลหรือก่อนประถมศึกษา) ให้ความสำคัญในการจัดกิจกรรมประสบการณ์การเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก การจัดมุมประสบการณ์ที่หลากหลายไว้ให้เด็กๆทั้งในและนอกห้องเรียน เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning
พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยเด็กจะได้รับการพัฒนาทักษะในการสังเกต การจำแนกประเภท การวัด การสื่อความหมาย การลงความเห็น การใช้ตัวเลข ส่งเสริมให้สงสัยและสนใจในสิ่งต่างๆรอบตัว รวมถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่เด็กด้วยการให้เด็กเป็นผู้แสวงหาความรู้ หาคำตอบในเรื่องที่เด็กสนใจ ควบคู่กับการเตรียมความพร้อมในการเรียนต่อระดับประถมศึกษาและไม่เน้นเรื่องการแข่งขันทางการตลาดกับสถานศึกษาอื่น เน้นการพัฒนาสมองผ่านกิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้ต่างๆเพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านอย่างครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม คุณธรรมจริยธรรมและสติปัญญา ตลอดจนการเสริมสร้างคุณลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์โดยจัดกิจกรรมและสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้อย่างมีความสุข มีความหมายต่อตัวเด็ก เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่สอดคล้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยที่ปลอดภัย สะอาด ร่มรื่น อบอุ่นและผ่อนคลาย รายล้อมด้วยธรรมชาติที่ช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้อ่อนโยนและรักธรรมชาติเน้นการพัฒนาเด็กอย่างแท้จริง รายละเอียดดังนี้
( 1 ) หลักสูตรหลักเน้น
1.1 การพัฒนาสมองผ่านกิจกรรมนำเสนอผลงานการค้นคว้า
( Presentation )
1.2 การพัฒนาสมองผ่านกิจกรรมเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้
( Experience-Enhancement Activities ) และพัฒนาทักษะกระบวน
การทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Experience-Enhancement Activities ) และพัฒนาทักษะกระบวน
การทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.3 การพัฒนาสมองผ่านกิจกรรมพัฒนาทักษะการเรียนรู้
( Learning Skills )
( Learning Skills )
1.4 การพัฒนาสมองผ่านกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
( Creative Activities )
( Creative Activities )
1.5 การพัฒนาสมองผ่านกิจกรรมการเล่นบทบาทสมมุติ
( Role-Playing )
( Role-Playing )
1.6 การพัฒนาสมองผ่านเกมการศึกษา
( Educational Games )
( Educational Games )
1.7 การพัฒนาสมองผ่านกิจกรรมการเล่นเครื่องเล่นสนาม
( Outdoor Playground for Young Children )
( Outdoor Playground for Young Children )
1.8 การพัฒนาสมองผ่านกิจกรรมการเล่นน้ำ
( Outdoor Activities : Water Play )
( Outdoor Activities : Water Play )
1.9 การพัฒนาสมองผ่านกิจกรรมการเล่นทราย
( Outdoor Activities : Sand Play )
( Outdoor Activities : Sand Play )
1.10 การพัฒนาสมองผ่านกิจกรรมการเล่านิทาน
( Story Telling )
( Story Telling )
1.11 การพัฒนาสมองผ่านกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
( Motor and Rhythmic Activities )
( Motor and Rhythmic Activities )
1.12 การพัฒนาสมองผ่านกิจกรรมการเล่นเสรี
( Unstructured Activities )
( Unstructured Activities )
1.13 การพัฒนาสมองผ่านกิจกรรมพละศึกษาและการออกกำลังกาย
( Physical Education )
( Physical Education )
1.14 การพัฒนาสมองผ่านกิจกรรมสายใยรักสายใยธรรมเพื่อ
บ่มเพาะและปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้แก่เด็กและ
บุคลากรของโรงเรียน
บ่มเพาะและปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้แก่เด็กและ
บุคลากรของโรงเรียน
1.15 ตรวจสุขภาพ วัดและประเมินพัฒนาการ โดยกุมารแพทย์
ทีมพยาบาล ทีมทันตะ ทีมจักษุ
ทีมพยาบาล ทีมทันตะ ทีมจักษุ
1.16 เคลือบฟลูออไรด์โดยทันตแพทย์และทีมทันตะ
1.17 ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโดยกุมารแพทย์และทีมพยาบาล
1.18 รับประทานอาหารกลางวันและอาหารว่าง พร้อมด้วยขนมและผลไม้
สารอาหารครบถ้วนตามหลักโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย จาก
แหล่งวัตถุดิบที่ได้มาตรฐาน สะอาดและปลอดภัย การเก็บถนอม
อาหารและห้องประกอบอาหารถูกต้องตามหลักมาตรฐาน
กรมอนามัย
สารอาหารครบถ้วนตามหลักโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย จาก
แหล่งวัตถุดิบที่ได้มาตรฐาน สะอาดและปลอดภัย การเก็บถนอม
อาหารและห้องประกอบอาหารถูกต้องตามหลักมาตรฐาน
กรมอนามัย
1.19 นอนพักผ่อนตอนกลางวัน ห้องเรียนสะอาด ปลอดภัย สว่าง
ปลอดโปร่ง อากาศถ่ายเทดี ออกแบบและตกแต่งให้เอื้อต่อ
การพัฒนาเด็ก ห้องน้ำออกแบบเฉพาะสำหรับเด็ก แห้ง สว่าง
อากาศถ่ายเทดี ไม่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์รบกวน และสะอาดอยู่เสมอ
ปลอดโปร่ง อากาศถ่ายเทดี ออกแบบและตกแต่งให้เอื้อต่อ
การพัฒนาเด็ก ห้องน้ำออกแบบเฉพาะสำหรับเด็ก แห้ง สว่าง
อากาศถ่ายเทดี ไม่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์รบกวน และสะอาดอยู่เสมอ
1.20 Cleaning Day ทุกสัปดาห์เพื่อสุขภาพและความปลอดภัย
สำหรับเด็ก
สำหรับเด็ก
1.21 พ่นกำจัดยุงป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคที่ยุงเป็นพาหะ
สาระการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนอนุบาลบ้านทอฝัน
ประกอบด้วย สาระที่ควรเรียนรู้และประสบการณ์สำคัญ ดังนี้
๑. สาระที่ควรเรียนรู้
เป็นเรื่องราวรอบตัวเด็กที่นำมาเป็นสื่อกลางในการจัดกิจกรรมให้เด็กเกิดแนวคิดหลังจากนำสาระที่ควรรู้นั้นๆ มาจัดประสบการณ์ให้เด็กเพื่อให้บรรลุจุดหมายที่กำหนดไว้มิได้ประสงค์ให้เด็กท่องจำเนื้อหา ซึ่งมีรายละเอียดสอดคล้องกับวัยความต้องการและความสนใจของเด็กโดยให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์สำคัญยืดหยุ่นเนื้อหาได้ โดยคำนึงถึงประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมในชีวิตจริงของเด็ก สาระที่ควรเรียนรู้ประกอบด้วย เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก ธรรมชาติรอบตัวและสิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก ดังนี้
๑.๑ เรื่องราวที่เกี่ยวกับตัวเด็ก
เด็กจะได้เรียนรู้ชื่อ นามสกุล รูปร่างหน้าตา อวัยวะต่างๆ วิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาดและมีสุขภาพอนามัยที่ดี การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ การระมัดระวังความปลอดภัยของตนเองจากผู้อื่นและภัยใกล้ตัว รวมทั้งการปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างปลอดภัย การรู้จักประวัติความเป็นมาของตนเองและครอบครัว การปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวและโรงเรียน การเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น การรู้จักแสดงความคิดเห็นของตนเองและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การกำกับตนเอง การเล่นและทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองตามลำพังหรือกับผู้อื่น การตระหนักรู้เกี่ยวกับตนเอง ความภาคภูมิใจในตนเอง การสะท้อนการรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น การแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกอย่างเหมาะสม การแสดงมารยาทที่ดี การมีคุณธรรมจริยธรรม โดยเมื่อเด็กมีโอกาสเรียนรู้แล้วควรเกิดแนวคิด เช่น
- ฉันมีชื่อตั้งแต่เกิด ฉันมีเสียง รูปร่างหน้าตาไม่เหมือนใคร ฉันภูมิใจที่เป็นตัวฉันเองเป็นคนไทยที่ดี มีมารยาท มีวินัย รู้จักแบ่งปัน ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง เช่น แต่งตัว แปรงฟัน รับประทานอาหาร ฯลฯ
- ฉันมีอวัยวะต่างๆ เช่น ตา หู จมูก ปาก ขา มือ ผม นิ้วมีอ นิ้วเท้า ฯลฯ และฉันรู้จักวิธีรักษาร่างกายให้สะอาด ปลอดภัย มีสุขภาพดี
- ฉันใช้ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกาย ช่วยในการรับรู้สิ่งต่างๆ จึงควรดูแลรักษาให้ปลอดภัย
- ฉันต้องการอากาศ นํ้าและอาหารเพื่อการดำรงชีวิต ฉันจึงต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงเจริญเติบโต
- ฉันตระหนักรู้เกี่ยวกับตนเองว่า ฉันสามารถเคลื่อนไหวโดยควบคุมของร่างกายไปในทิศทาง ระดับ และพื้นที่ต่าง ๆ ร่างกายของฉันอาจมีเปลี่ยนแปลงเมื่อฉันรู้สึกไม่สบาย
- ฉันเรียนรู้ข้อตกลงต่างๆ รู้จักระมัดระวังรักษาความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นเมื่อทำงาน เล่นคนเดียว และเล่นกับผู้อื่น
- ฉันอาจรู้สึกดีใจ เสียใจ โกรธ เหนื่อย หรืออื่นๆแต่ฉันเรียนรู้ที่จะแสดงความรู้สึกในทางที่ดีและเหมาะสม เมื่อฉันแสดงความคิดเห็นหรือทำสิ่งต่างๆ ด้วยความคิดของตนเอง แสดงว่าฉันมีความคิด สร้างสรรค์ ความคิดของฉันเป็นสิ่งสำคัญ แต่คนอื่นก็มีความคิดที่ดีเหมือนฉันเช่นกัน
๑.๒ เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก
เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับครอบครัวสถานศึกษา ชุมชน และบุคคลต่างๆ ที่เด็กต้องเกี่ยวข้องหรือใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์ในชีวิตประจำวัน สถานที่สำคัญ วันสำคัญ อาชีพของคนในชุมชน ศาสนา แหล่งวัฒนธรรมในชุมชน สัญลักษณ์สำคัญของชาติไทยและการปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่นและความเป็นไทย หรือแหล่งเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นอื่นๆ โดยเมื่อเด็กมีโอกาสเรียนรู้แล้วควรเกิดแนวคิด เช่น
- ทุกคนในครอบครัวของฉันเป็นบุคคลสำคัญ ต้องการที่อยู่อาศัย อาหาร เสื้อผ้า และยารักษาโรค รวมทั้งต้องการความรัก ความเอื้ออาทร ช่วยดูแลซึ่งกันและกัน ช่วยกันทำงานและปฏิบัติตาม ข้อตกลงภายในครอบครัว ฉันต้องเคารพ เชื่อฟังพ่อแม่และผู้ใหญ่ในครอบครัว ปฏิบัติตนให้ถูกต้องตาม กาลเทศะ ครอบครัวของฉันมีวันสำคัญต่างๆ เช่น วันเกิดของบุคคลในครอบครัว วันทำบุญบ้าน ฉันภูมิใจใน ครอบครัวของฉัน
- สถานศึกษาของฉันมีชื่อ เป็นสถานที่ที่เด็กๆ มาทำกิจกรรมร่วมกันและทำให้ไต้เรียนรู้สิ่งต่างๆ มากมาย สถานศึกษาของฉันมีคนอยู่ร่วมกันหลายคน ทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบ ปฏิบัติตามกฏระเบียบ ช่วยกันรักษาความสะอาดและทรัพย์สมบัติของสถานศึกษา ครูรักฉันและเอาใจใส,ดูแลเด็กทุกคน เวลาทำ กิจกรรมฉันและเพื่อนจะช่วยกันคิด ช่วยกันทำ รับฟังความคิดเห็น และรับรู้ความรู้สึกซึ่งกันและกัน
- ท้องถิ่นของฉันมีสถานที่ บุคคล แหล่งวิทยากร แหล่งเรียนรู้ต่างๆ ที่สำคัญ คนในท้องถิ่นที่ฉันอาศัยอยู่มีอาชีพที่หลากหลาย เช่น ครู แพทย์ ทหาร ตำรวจ ชาวนา ชาวสวน พ่อค้า แม่ค้า ท้องถิ่น ของฉันมีวันสำคัญของตนเองซึ่งจะมีการปฏิบัติกิจกรรมที่แตกต่างกันไป
- ฉันเป็นคนไทย ฉันภูมิใจในความเป็นไทยที่มีวันสำคัญของชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์มีภาษา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติและท้องถิ่นหลายอย่าง ฉันและเพื่อนนับถือศาสนาหรือมี ความเชื่อที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันไต้ ศาสนาทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดี
๑.๓ ธรรมชาติรอบตัว
เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับชื่อ ลักษณะ ส่วนประกอบ การเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์ของมนุษย์ สัตว์ พืช ตลอดจนการรู้จักเกี่ยวกับดิน น้ำ ท้องฟ้า สภาพอากาศ ภัยธรรมชาติ แรงและพลังงานในชีวิตประจำวันที่แวดล้อมเด็ก รวมทั้งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการรักษาสาธารณสมบัติ โดยเมื่อเด็กมีโอกาสเรียนรู้แล้วควรเกิดแนวคิด เช่น
- ธรรมชาติรอบตัวฉันมีทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต สิ่งมีชีวิตต้องการอากาศ แสงแดด นํ้าและอาหารเพื่อเจริญเติบโต สิ่งมีชีวิตสามารถปรับตัวให้เข้ากับลักษณะลมฟ้าอากาศในแต่ละวันหรือฤดู และ ยังต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน สำหรับสิ่งไม่มีชีวิต เช่น นํ้า หิน ดิน ทราย มีรูปร่าง รูปทรง ลักษณะ สีต่างๆ และมีประโยชน์
- ลักษณะลมฟ้าอากาศรอบตัวแต่ละวันอาจเหมือนหรือแตกต่างกันได้ บางครั้งฉันคาดคะเนลักษณะลมฟ้าอากาศได้จากสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น เมฆ ท้องฟ้า ลม ในเวลากลางวันเป็นช่วงเวลาที่ ดวงอาทิตย์ขึ้นจนดวงอาทิตย์ตก คนส่วนใหญ่จะตื่นและทำงาน ส่วนฉันไปโรงเรียนหรือเล่น เวลากลางคืนเป็น ช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ตกจนดวงอาทิตย์ขึ้น ฉันและคนส่วนใหญ่จะนอนพักผ่อนตอนกลางคืน กลางวันและ กลางคืนมีลักษณะแตกต่างกัน เช่น ท้องฟ้าในเวลากลางวันเป็นสีฟ้าในเวลากลางคืนเป็นสีดำ กลางวันมี แสงสว่างแต่กลางคืนมีด อากาศเวลากลางวันร้อนกว่าเวลากลางคืน
- เมื่อฉันออกแรงกระทำต่อสิ่งของด้วยวิธีต่างๆ เช่น ผลัก ดึง บีบ ทุบ ตี เปา เขย่า ดีดสิ่งของจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง การเคลื่อนที่ และเกิดเสียงแบบต่าง ๆ
- แสงและไฟฟ้า ได้มาจากแหล่งพลังงาน เช่น ดวงอาทิตย์ ลม นํ้า เชื้อเพลิง แสงช่วย ให้เรามองเห็น เมื่อมีสิ่งต่าง ๆ ไปบังแสงจะเกิดเงา ไฟฟ้าทำให้สิ่งของเครื่องใช้บางอย่างทำงานได้ ช่วยอำนวย ความสะดวกในชีวิตประจำวัน การนำพลังงานมาใช้ทำให้แหล่งพลังงานบางอย่างมีปริมาณลดลง เราจึงต้องใช้ พลังงานอย่างประหยัด
- สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติรอบตัวฉัน เช่น สัตว์ พืช นํ้า ดิน หิน ทราย สภาพของลมฟ้าอากาศ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตต้องได้รับการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นรอบๆ ตัวฉัน เช่น สิ่งของ เครื่องใช้ บ้านอยู่อาศัย ถนนหนทาง สวนสาธารณะ สถานที่ต่างๆ เป็นสิ่งที่ใซ้ประโยชน์ร่วมกัน ทุกคนรวมทั้ง ฉันช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและรักษาสาธารณสมบัติโดยไม่ทำลายและบำรุงรักษาให้ดีขึ้นได้
๑.๔ สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก
เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายในชีวิตประจำวัน ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการใช้หนังสือและตัวหนังสือ รู้จักชื่อ ลักษณะ สี ผิวสัมผัส ขนาด รูปร่าง รูปทรง ปริมาตร น้ำหนัก จำนวน ส่วนประกอบ การเปลี่ยนแปลงและความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ รอบตัว เวลา เงิน ประโยชน์ การใช้งาน และการเลือกใช้สิ่งของเครื่องใช้ ยานพาหนะ การคมนาคม เทคโนโลยีและการสื่อสารต่างๆ ที่ใช้อยู่ในชีวิตประจำวันอย่างประหยัด ปลอดภัยและรักษาสิ่งแวดล้อม โดยเมื่อเด็กมีโอกาส เรียนรู้แล้วควรเกิดแนวคิด เช่น
- ฉันใช้ภาษาทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน เพื่อการสื่อความหมายในชีวิตประจำวัน ฉันติดต่อสื่อสารกับบุคคลต่างๆ ได้หลายวิธี เช่น โดยการไปมาหาสู่ โทรศัพท์ จดหมาย หรือเครื่องมีอที่ใช้ในการติดต่อ สื่อสารต่างๆ และฉันทราบข่าวความเคลื่อนไหวต่างๆ รอบตัวด้วยการสนทนา ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ และ อ่านหนังลือ หนังลือเป็นสื่อในการถ่ายทอดความรู้ความคิด ความรู้สึกไปยังผู้อ่าน ถ้าฉันชอบอ่านหนังลือ ฉันก็จะมีความรู้ความคิดมากขึ้น ฉันสามารถรวบรวมข้อมูลง่ายๆ นำมาถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจไดโดยนำเสนอด้วย รูปภาพ สัญลักษณ์ แผนผัง ผังความคิด แผนภูมิ
- สิ่งต่างๆ รอบตัวฉันส่วนใหญ่มีสี ยกเว้นกระจกใส พลาสติกใส สีมีอยู่ทุกหนทุกแห่งที่ ฉันสามารถเห็นตามดอกไม้ เสื้อผ้า อาหาร รถยนต์ และอื่นๆ สีที่ฉันเห็นมีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น แดง เหลือง น้ำเงิน สีแต่ละสีทำให้เกิดความรู้สึกต่างกัน สีบางสี
สามารถใช้เป็นสัญญาณหรือสัญลักษณ์สื่อสารกันได้
- สิ่งต่างๆ รอบตัวฉันมีชื่อ ลักษณะ สี ผิวสัมผัส ขนาด รูปร่าง รูปทรง ปริมาตร นํ้าหนัก และ ส่วนประกอบต่างๆกัน สามารถจำแนกประเภทตามชนิด ขนาด สี พื้นผิว วัสดุ รูปร่าง รูปทรง หรือประโยชน์ในการใช้งาน
- ฉันสามารถสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น การเจริญเติบโต ของมนุษย์ สัตว์หรือพืช การเปลี่ยน
แปลงของสภาพของลมฟ้าอากาศ การเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ จากการ ทดลองอย่างง่ายๆ หรือการประกอบอาหาร และฉันสามารถเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น การนำ สิ่งต่างๆ มาใช้ประโยชน์ ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำบางอย่างกับผลที่เกิดขึ้น เช่น ถ้ารับประทานอาหาร แล้วไม่แปรงฟ้นฟ้นจะผุ ถ้าใส่นํ้าตาลลงไปในนํ้าแล้วนํ้าตาลจะละลาย ถ้าปล่อยสิ่งของจากที่สูงแล้วสิ่งของจะตกลงมา
- การนับสิ่งต่างๆ ทำให้ฉันรู้จำนวนสิ่งของ และจำนวนนับนั้นเพิ่มหรือลดได้ ฉันรู้ว่าสิ่งของแต่ละขึ้นนับได้เพียงครั้งเดียว ไม่นับซํ้า และเสียงสุดท้ายที่นับเป็นตัวบอกปริมาณ
- ฉันเปรียบเทียบและเรียงลำดับสิ่งของต่างๆ ตามลักษณะ รูปร่าง รูปทรง จำนวน ขนาด นํ้าหนักปริมาตร สิ่งที่ช่วยฉันในการสังเกต เช่น แว่นขยาย สิ่งที่ช่วยในการ ชั่ง ตวง วัด มีหลายอย่าง เช่น เครื่องชั่งสองแขนอย่างง่าย ถ้วย ซ้อน เชือก วัสดุสิ่งของอื่นๆ ที่ฉันอาจใช้การคาดคะเนหรือกะประมาณ
- ฉันใช้คำที่เกี่ยวกับเวลาในชีวิตประจำวัน เช่น กลางวัน กลางคืน ก่อน หลัง เช้า บ่าย เย็น เมื่อวานนี้ วันนี้ พรุ่งนี้
- ฉันใช้เงินเหรียญและธนบัตรในการซื้อขนมและอาหาร ตัวเลขที่อยู่บนเหรียญและ ธนบัตรจะบอกค่าของเงิน
- ฉันใช้ตัวเลขในชีวิตประจำวัน เช่น วันที่ ขึ้นเรียน อายุ บ้านเลขที่ นาฬิกา หรือ เบอร์โทรศัพท์ และใช้ตัวเลขในการบอกปริมาณของสิ่งต่างๆ และแสดงอันดับที่
- สิ่งของเครื่องใช้มีหลายชนิดและหลายประเภท เช่น เครื่องใช้ในการทำสวนเพาะปลูก การก่อสร้าง เครื่องใช้ภายในบ้าน เราใช้สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน ขณะเดียวกันก็ต้องระมัดระวังในการใช้งาน เพราะอาจเกิดอันตรายและความเสียหายได้ถ้าใช้ผิดวิธีหรือ ใช้ผิดประเภท เมื่อใช้แล้วควรทำความสะอาดและเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย เราควรใช้สิ่งของเครื่องใช้อย่าง ประหยัดและรักษาสิ่งแวดล้อม
- ฉันเดินทางจากที่หนึ่งไปยังที่หนึ่งได้ด้วยการเดินหรือใช้ยานพาหนะ พาหนะ บางอย่างที่ฉันเห็นเคลื่อนที่ได้โดยการใช้เครื่องยนต์ ลม ไฟฟ้า หรือคนเป็นผู้ทำให้เคลื่อนที่ คนเรา เดินทางหรือ ขนส่งได้ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ พาหนะที่ใช้เดินทาง เซ่น รถยนต์ รถเมล์ รถไฟ เครื่องบิน เรือ ผู้ฃับฃี่จะต้องได้รับ ใบอนุญาตขับขี่ และทำตามกฏจราจรเพื่อความปลอดภัยของทุกคน และฉันต้องเดินบนทางเท้า ข้ามถนนตรงทางม้าลาย สะพานลอยหรือตรงที่มีสัญญาณไฟ เพื่อความปลอดภัยและต้องระมัดระวังเวลาข้าม
๒. ประสบการณ์สำคัญ
๒.๑ ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
สนับสนุนให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก และการประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อและระบบประสาท ในการทำกิจวัตรประจำวันหรือทำกิจกรรมต่างๆ และสนับสนุนให้เด็กมีโอกาสดูแลสุขภาพและสุขอนามัย สุขนิสัย และการรักษาความปลอดภัย ดังนี้
๒.๑.๑ การใช้กล้ามเนื้อใหญ่
(๑) การเคลื่อนไหวอยู่กับที่
(๒) การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่
(๓) การเคลื่อนไหวพร้อมวัสดุอุปกรณ์
(๔) การเคลื่อนไหวที่ใช้การประสานสัมพันธ์ของการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ในการขว้าง การจับ การโยน การเตะ
(๕) การเล่นเครื่องเล่นสนามอย่างอิสระ
๒.๑.๒ การใช้กล้ามเนื้อเล็ก
(๑) การเล่นเครื่องเล่นสัมผัสและการสร้างจากแท่งไม้ บล็อก
(๒) การเขียนภาพและการเล่นกับสี
(๓) การปั้น
(๔) การประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ด้วย เศษวัสดุ
(๕) การหยิบจับ การใช้กรรไกร การฉีก การตัด การปะ และการร้อยวัสดุ
๒.๑.๓ การรักษาสุขภาพอนามัยส่วนตน
(๑) การปฏิบัติตนตามสุขอนามัย สุขนิสัยที่ดีในกิจวัตรประจำวัน
๒.๑.๔ การรักษาความปลอดภัย
(๑) การปฏิบัติตนให้ปลอดภัยในกิจวัตรประจำวัน
(๒) การฟังนิทาน เรื่องราว เหตุการณ์ เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความปลอดภัย
(๓) การเล่นเครื่องเล่นอย่างปลอดภัย
(๔) การเล่นบทบาทสมมติเหตุการณ์ต่างๆ
๒.๑.๕ การตระหนักรู้เกี่ยวกับร่างกายตนเอง
(๑) การเคลื่อนไหวโดยควบคุมตนเองไปในทิศทาง ระดับ และพื้นที่
(๒) การเคลื่อนไหวข้ามสิ่งกีดขวาง
๒.๒ ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ คุณธรรม จริยธรรม
สนับสนุนให้เด็กได้แสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกของตนเองที่เหมาะสมกับวัย ตระหนักถึงลักษณะพิเศษเฉพาะที่เป็นอัตลักษณ์ ความเป็นตัวของตัวเอง มีความสุข ร่าเริงแจ่มใส การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ได้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรม สุนทรียภาพ ความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง และความเชื่อมั่นในตนเองขณะปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ดังนี้
๒.๒.๑ สุนทรียภาพ ดนตรี
(๑) การฟังเพลง การร้องเพลง และการแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบเสียงดนตรี
(๒) การเล่นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ
(๓) การเคลื่อนไหวตามเสียงเพลง/ดนตรี
(๔) การเล่นบทบาทสมมติ
(๕) การทำกิจกรรมศิลปะต่างๆ
(๖) การสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม
๒.๒.๒ การเล่น
(๑) การเล่นอิสระ
(๒) การเล่นรายบุคคล กลุ่มย่อย กลุ่มใหญ่
(๓) การเล่นตามมุมประสบการณ์
(๔) การเล่นนอกห้องเรียน
๒.๒.๓ คุณธรรม จริยธรรม
(๑) การปฏิบัติตนตามหลักศาสนาที่นับถือ
(๒) การฟังนิทานเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม
(๓) การร่วมสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงจริยธรรม
๒.๒.๔ การแสดงออกทางอารมณ์
(๑) การพูดสะท้อนความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น
(๒) การเล่นบทบาทสมมติ
(๓) การเคลื่อนไหวตามเสียงเพลง/ดนตรี
(๔) การร้องเพลง
(๕) การทำงานศิลปะ
๒.๒.๕ การมีอัตลักษณ์เฉพาะตนและเชื่อว่าตนเองมีความสามารถ
(๑) การปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ตามความสามารถของตนเอง
๑.๒.๖ การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
(๑) การแสดงความยินดีเมื่อผู้อื่นมีความสุข เห็นใจเมื่อผู้อื่นเศร้าหรือเสียใจและการช่วยเหลือปลอบโยนเมื่อผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ
๒.๓ ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
สนับสนุนให้เด็กได้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมต่างๆ รอบตัวจากการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ผ่านการเรียนรู้ทางสังคม เช่น การเล่น การทำงานกับผู้อื่น การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การแก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่างๆ
๒.๓.๑ การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
(๑) การช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวัน
(๒) การปฏิบัติตนตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๒.๓.๒ การดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(๑) การมีส่วนร่วมรับผิดชอบดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน
(๒) การใช้วัสดุและสิ่งของเครื่องใช้อย่างคุ้มค่า
(๓) การทำงานศิลปะที่นำวัสดุหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ใช้แล้ว มาใช้ซ้ำหรือแปรรูปแล้วนำกลับมาใช้ใหม่
(๔) การเพาะปลูกและดูแลต้นไม้
(๕) การเลี้ยงสัตว์
(๖) การสนทนาข่าวและเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน
๒.๓.๓ การปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่นและความเป็นไทย
(๑) การเล่นบทบาทสมมติการปฏิบัติตนในความเป็นคนไทย
(๒) การปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่อาศัยและประเพณีไทย
(๓) การประกอบอาหารไทย
(๔) การศึกษานอกสถานที่
(๕) การละเล่นพื้นบ้านของไทย
๒.๓.๔ การมีปฏิสัมพันธ์มีวินัย มีส่วนร่วมและบทบาทสมาชิกของสังคม
(๑) การร่วมกำหนดข้อตกลงของห้องเรียน
(๒) การปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของห้องเรียน
(๓) การให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ
(๔) การดูแลห้องเรียนร่วมกัน
(๕) การร่วมกิจกรรมวันสำคัญ
๒.๓.๕ การเล่นและทำงานแบบร่วมมือร่วมใจ
(๑) การร่วมสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
(๒) การเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่น
(๓) การทำศิลปะแบบร่วมมือ
๒.๓.๖ การแก้ปัญหาความขัดแย้ง
(๑) การมีส่วนร่วมในการเลือกวิธีการแก้ปัญหา
(๒) การมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง
๒.๓.๗ การยอมรับในความเหมือนและความแตกต่างระหว่างบุคคล
(๑) การเล่นหรือทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มเพื่อน
๒.๔ ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา
สนับสนุนให้เด็กได้รับรู้และเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม บุคคลและสื่อต่างๆ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กพัฒนาการใช้ภาษา จินตนาการความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา การคิดเชิงเหตุผล และการคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รอบตัวและมีความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
๒.๔.๑ การใช้ภาษา
(๑) การฟังเสียงต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม
(๒) การฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำ
(๓) การฟังเพลง นิทาน คำคล้องจอง บทร้อยกรองหรือเรื่องราวต่างๆ
(๔) การพูดแสดงความคิด ความรู้สึก และความต้องการ
(๕) การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง หรือพูดเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตนเอง
(๖) การพูดอธิบายเกี่ยวกับสิ่งของ เหตุการณ์ และความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
(๗) การพูดอย่างสร้างสรรค์ในการเล่น และการกระทำต่างๆ
(๘) การรอจังหวะที่เหมาะสมในการพูด
(๙) การพูดเรียงลำดับคำเพื่อใช้ในการสื่อสาร
(๑๐) การอ่านหนังสือภาพ นิทาน หลากหลายประเภท/รูปแบบ
(๑๑) การอ่านอย่างอิสระตามลำพัง การอ่านร่วมกัน การอ่านโดยมีผู้ชี้แนะ
(๑๒) การเห็นแบบอย่างของการอ่านที่ถูกต้อง
(๑๓) การสังเกตทิศทางการอ่านตัวอักษร คำ และข้อความ
(๑๔) การอ่านและชี้ข้อความ โดยกวาดสายตาตามบรรทัดจากซ้ายไปขวา และจากบนลงล่าง
(๑๕) การสังเกตตัวอักษรในชื่อของตน หรือคำคุ้นเคย
(๑๖) การสังเกตตัวอักษรที่ประกอบเป็นคำผ่านการอ่านหรือเขียนของผู้ใหญ่
(๑๗) การคาดเดาคำ วลี หรือประโยค ที่มีโครงสร้างซ้ำๆ กัน จากนิทาน เพลง คำคล้องจอง
(๑๘) การเล่นเกมภาษา
(๑๙) การเห็นแบบอย่างของการเขียนที่ถูกต้อง
(๒๐) การเขียนร่วมกันตามโอกาส และการเขียนอิสระ
(๒๑) การเขียนคำที่มีความหมายกับตัวเด็ก/คำคุ้นเคย
(๒๒) การคิดสะกดคำและเขียนเพื่อสื่อความหมายด้วยตนเองอย่างอิสระ
๒.๔.๒ การคิดรวบยอดการคิดเชิงเหตุผล การตัดสินใจและแก้ปัญหา
(๑) การสังเกตลักษณะ ส่วนประกอบ การเปลี่ยนแปลง และความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ โดยใช้ประสาทสัมผัสอย่างเหมาะสม
(๒) การสังเกตสิ่งต่างๆ และสถานที่จากมุมมองที่ต่างกัน
(๓) การบอกและแสดงตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทางของสิ่งต่างๆด้วยการกระทำ ภาพวาด ภาพถ่าย และรูปภาพ
(๔) การเล่นกับสื่อต่างๆ ที่เป็นทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากทรงกระบอก กรวย
(๕) การคัดแยก การจัดกลุ่ม และการจำแนกสิ่งต่างๆ ตามลักษณะและรูปร่าง รูปทรง
(๖) การต่อของชิ้นเล็กเติมในชิ้นใหญ่ให้สมบูรณ์ และการแยกชิ้นส่วน
(๗) การทำซ้ำ การต่อเติม และการสร้างแบบรูป
(๘) การนับและแสดงจำนวนของสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
(๙) การเปรียบเทียบและเรียงลำดับจำนวนของสิ่งต่างๆ
(๑๐) การรวมและการแยกสิ่งต่างๆ
(๑๑) การบอกและแสดงอันดับที่ของสิ่งต่างๆ
(๑๒) การชั่ง ตวง วัดสิ่งต่างๆ โดยใช้เครื่องมือและหน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน
(๑๓) การจับคู่ การเปรียบเทียบ และการเรียงลำดับ สิ่งต่างๆ ตามลักษณะความยาว/ความสูง น้ำหนัก ปริมาตร
(๑๔) การบอกและเรียงลำดับกิจกรรมหรือเหตุการณ์ตามช่วงเวลา
(๑๕) การใช้ภาษาทางคณิตศาสตร์กับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
(๑๖) การอธิบายเชื่อมโยงสาเหตุและผลที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์หรือการกระทำ
(๑๗) การคาดเดาหรือการคาดคะเนสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล
(๑๘) การมีส่วนร่วมในการลงความเห็นจากข้อมูลอย่างมีเหตุผล
(๑๙) การตัดสินใจและมีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ปัญหา
๒.๔.๓ จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
(๑) การรับรู้ และแสดงความคิดความรู้สึกผ่านสื่อ วัสดุ ของเล่นและชิ้นงาน
(๒) การแสดงความคิดสร้างสรรค์ผ่านภาษา ท่าทาง การเคลื่อนไหวและศิลปะ
(๓) การสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยใช้รูปร่างรูปทรงจากวัสดุที่หลากหลาย
๒.๔.๔ เจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และการแสวงหาความรู้
(๑) การสำรวจสิ่งต่างๆ และแหล่งเรียนรู้รอบตัว
(๒) การตั้งคำถามในเรื่องที่สนใจ
(๓) การสืบเสาะหาความรู้เพื่อค้นหาคำตอบของข้อสงสัยต่างๆ
(๔) การมีส่วนร่วมในการรวบรวมข้อมูลและนำเสนอข้อมูลจากการสืบเสาะหาความรู้ในรูปแบบต่างๆ และแผนภูมิอย่างง่าย
การจัดประสบการณ์
จัดกิจกรรมในลักษณะการบูรณาการผ่านการเล่นผสมผสานกับการเตรียมความพร้อมในการเรียนต่อระดับประถมศึกษา เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้จากการลงมือกระทำจากประสบการณ์ตรงอย่างหลากหลายเกิดความรู้ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งเกิดการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ไม่จัดเป็นรายวิชา โดยมีหลักการและแนวทางการจัดประสบการณ์ ดังนี้
๑. หลักการจัดประสบการณ์
๑.๑ จัดประสบการณ์การเล่นและการเรียนรู้อย่างหลากหลาย เพื่อพัฒนาเด็กโดยองค์รวมอย่างสมดุลและต่อเนื่อง
๑.๒ เน้นเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคลและบริบทของสังคมที่เด็กอาศัยอยู่
๑.๓ จัดให้เด็กได้รับการพัฒนาโดยให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก
๑.๔ จัดการประเมินพัฒนาการเป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์ พร้อมทั้งนำผลการ
ประเมินมาพัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่อง
๑.๕ ให้พ่อแม่ ครอบครัว ชุมชน และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก
๒. แนวทางการจัดประสบการณ์
๒.๑ จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการและการทำงานของสมองที่เหมาะกับอายุ วุฒิภาวะและระดับ
พัฒนาการ เพื่อให้เด็กทุกคนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ
๒.๒ จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับแบบการเรียนรู้ของเด็ก เด็กได้ลงมือกระทำเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้เคลื่อนไหว
สำรวจ เล่น สังเกต สืบค้น ทดลอง และคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง
๒.๓ จัดประสบการณ์แบบบูรณาการ โดยบูรณาการทั้งกิจกรรม ทักษะ และสาระการเรียนรู้
๒.๔ จัดประสบการณ์ให้เด็กได้ริเริ่มคิด วางแผน ตัดสินใจลงมือกระทำและนำเสนอความคิด โดยผู้สอนหรือผู้จัดประสบการณ์
เป็นผู้สนับสนุนอำนวยความสะดวก และเรียนรู้ร่วมกับเด็ก
๒.๕ จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กอื่น กับผู้ใหญ่ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในบรรยากาศที่อบอุ่นมี
ความสุข และเรียนรู้การทำกิจกรรมแบบร่วมมือในลักษณะต่างๆ กัน
๒.๖ จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อและแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายและอยู่ในวิถีชีวิตของเด็ก สอดคล้องกับบริบท
สังคม และวัฒนธรรมที่แวดล้อมเด็ก
๒.๗ จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดีและทักษะการใช้ชีวิตประจำวัน ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตลอดจนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม และการมีวินัยให้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
๒.๘ จัดประสบการณ์ทั้งในลักษณะที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าและแผนที่เกิดขึ้นในสภาพจริง โดยไม่ได้คาดการณ์ไว้
๒.๙ จัดทำสารนิทัศน์ด้วยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล นำมาไตร่ตรองและใช้ให้
เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเด็กและการวิจัยในชั้นเรียน
๒.๑๐ จัดประสบการณ์โดยให้พ่อแม่ ครอบครัว และชุมชนมีส่วนร่วมทั้งการวางแผนการสนับสนุนสื่อ แหล่งเรียนรู้ การเข้าร่วม
กิจกรรม และการประเมินพัฒนาการ
การประเมินพัฒนาการตามหลักสูตรปฐมวัยของโรงเรียนอนุบาลบ้านทอฝัน
ประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาของเด็ก โดยถือเป็นกระบวนการต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมปกติที่จัดให้เด็กในแต่ละวัน ผลที่ได้จากการสังเกตพัฒนาการนำมาจัดทำสารนิทัศน์หรือจัดทำข้อมูลหลักฐานหรือเอกสารอย่างเป็นระบบ ด้วยการรวบรวมผลงานสำหรับเด็กเป็นรายบุคคลที่สามารถบอกเรื่องราวหรือประสบการณ์ที่เด็กได้รับว่าเด็กเกิดการเรียนรู้และมีความก้าวหน้าเพียงใด โดยนำข้อมูลผลการประเมินพัฒนาการเด็กมาพิจารณา ปรับปรุงวางแผนการจัดกิจกรรม และส่งเสริมให้เด็กแต่ละคนได้รับการพัฒนาตามจุดหมายของหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง การประเมินพัฒนาการโดยยึดหลัก ดังนี้
๑. วางแผนการประเมินพัฒนาการอย่างเป็นระบบ
๒. ประเมินพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน
๓. ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดปี
๔. ประเมินพัฒนาการตามสภาพจริงจากกิจกรรมประจำวันด้วยเครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย
๕. สรุปผลการประเมิน จัดทำข้อมูลและนำผลการประเมินไปใช้พัฒนาเด็ก
วิธีการประเมิน
ได้แก่ การสังเกต การบันทึกพฤติกรรม การสนทนากับเด็ก การสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลจากผลงานเด็กที่เก็บอย่าง
มีระบบ
แนวทางการประเมินพัฒนาการ
๑) พัฒนาการด้านร่างกาย
เป็นการเปลี่ยนแปลงความสามารถของร่างกายในการเคลื่อนไหว สุขภาพอนามัยที่ดีรวมถึงการใช้มือกับตาที่ประสานสัมพันธ์กันในการทำกิจกรรมต่างๆ
การประเมินพัฒนาการด้านร่างกาย ประกอบด้วย การประเมินนํ้าหนักและส่วนสูง ตามเกณฑ์ สุขภาพอนามัย สุขนิสัยที่ดี การรู้จักความปลอดภัย การเคลื่อนไหวและการทรงตัว การเล่นและ การออกกำลังกาย และการใช้กล้ามเนื้อเล็กอย่างประสานสัมพันธ์กัน
๒) พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ
เป็นความสามารถในการแสดงอารมณ์และความรู้สึก โดยที่เด็กรู้จักควบคุมอารมณ์และแสดงออกอย่างเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์ เพื่อเผชิญกับเหตุการณ์ ต่างๆ ตลอดจนการรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น
การประเมินพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ประกอบด้วย การประเมินความสามารถในการ แสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสมกับวัยและสถานการณ์ ความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น มีความเห็นอก เห็นใจ ความสนใจ ความสามารถ และมีความสุขในการทำงานศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว ความรับผิดชอบในการทำงาน ความชื่อสัตย์สุจริตและรู้สึกถูกผิด ความเมตตากรุณา มีนํ้าใจและช่วยเหลือ แบ่งป้น ตลอดจนการประหยัด อดออม และพอเพียง
๓) พัฒนาการด้านสังคม
เป็นความสามารถในการสร้างส้มพันธภาพกับผู้อื่น ปรับตัวในการเล่น และอยู่ร่วมกับผู้อื่น สามารถทำหน้าที่ตามบทบาทของตน ทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความรับผิดชอบ รู้กาลเทศะ สามารถช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน เรียนรู้การปรับตัวให้เช้ากับเด็กอื่น รูจักรวมมือในการเลนกับ กลุมเพื่อน ปฏิบัติตามข้อตกลงในการเล่น รู้จักรอคอยตามลำดับก่อน-หลัง
การประเมินพัฒนาการด้านสังคม ประกอบด้วย การประเมินความมีวินัยในตนเอง การช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การระวังภัยจากคนแปลกหน้าและสถานการณ์ที่เสี่ยง อันตราย การดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การมีสัมมา
คารวะและมารยาทตามวัฒนธรรมไทย รักความ เป็นไทย การยอมรับความเหมือนความแตกต่างระหว่างบุคคล การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น การปฏิบัติตน เบื้องด้นในการเป็นสมาชิกที่ดีฃองสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๔) พัฒนาการด้านสติปัญญา
เป็นการเปลี่ยนแปลงความสามารถทางสมองที่เกิดขึ้นจากการ เรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัว และความสัมพันธ์ระหว่างตนเองและสิ่งแวดล้อม ด้วยการรับรู้ สังเกต จดจำ วิเคราะห์ รู้คิด รู้เหตุผล และแก้ปัญหา ทำให้สามารถปรับตัวและเพิ่มทักษะใหม่ ซึ่งแสดงออกด้วยการใช้ภาษา สื่อความหมายและการกระทำ เด็กวัยนี้สามารถโต้ตอบหรือมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุและสิ่งของที่อยูรอบตัวได้ สามารถจำสิ่งตางๆที่ได้กระทำซ้ำกันบ่อยๆได้ดี เรียนรู้สิ่งตางๆ ได้ดีขึ้นแต่ยังอาศัยการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ แก้ปัญหาการลองผิดลองถูกจากการรับรูมากกว่าการใซเหตุผล ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งตางๆที่อยูรอบตัว พัฒนาอยางรวดเร็วตามอายุที่เพิ่มขึ้น ในส่วนของพัฒนาการทางภาษาของเด็กวัยนี้ เป็นระยะพัฒนาภาษา อยางรวดเร็ว โดยมีโอกาสใซภาษาจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในรูปของการสนทนา ตอบคำถาม เลาเรื่อง นิทานและทำกิจกรรมตางๆ
การประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญา ประกอบด้วย การประเมินความสามารถในการสนทนา โต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ ความสามารถในการอ่าน เขียนภาพ และสัญลักษณ์ ความสามารถในการ คิดรวบยอม การคิดเซิงเหตุผล การคิดแก้ปัญหาและตัดสินใจ การทำงานศิลปะ การแสดงทำทาง/เคลื่อนไหว ตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ การมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และความสามารถในการแสวงหาความรู้
หลักสูตรปฐมวัยของโรงเรียนอนุบาลบ้านทอฝันมีมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ซึ่งเป็นจุดหมายในการพัฒนาและการประเมินเด็กให้บรรลุคุณภาพ ดังนี้
๑. พัฒนาการด้านร่างกาย ประกอบด้วย ๒ มาตรฐาน คือ
มาตรฐานที่ ๑ ร่างกายเจริญเติบโตตามวัยและมีสุขนิสัยที่ดี
มาตรฐานที่ ๒ กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กแข็งแรง ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
๒. พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ประกอบด้วย ๓ มาตรฐาน คือ
มาตรฐานที่ ๓ มีสุขภาพจิตดีและมิความสุข
มาตรฐานที่ ๔ ชื่นชมและแสดงออกทางศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว
มาตรฐานที่ ๕ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีจิตใจที่ดีงาม
๓. พัฒนาการด้านสังคม ประกอบด้วย ๓ มาตรฐาน คือ
มาตรฐานที่ ๖ มีทักษะชีวิตและปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
มาตรฐานที่ ๗ รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และความเป็นไทย
มาตรฐานที่ ๘ อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและปฏิบัติตนเป็นสมาซิกที่ดีของสังคม ในระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๔. พัฒนาการด้านสติปัญญา ประกอบด้วย ๔ มาตรฐาน คือ
มาตรฐานที่ ๙ ใช้ภาษาลื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
มาตรฐานที่ ๑0 มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้
มาตรฐานที่ ๑๑ มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ ๑๒ มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และมีความสามารถในการแสวงหา ความรู้ได้เหมาะสมกับวัย
อ้างอิง * หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 กระทรวงศึกษาธิการ